ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พิธีศพของชาวพุทธธิเบต แร้งกินศพ (Tibetan Buddhist Sky Burial)





พิธีศพแบบท้องฟ้าของชาวพุทธธิเบต
(
Tibetan Buddhist Sky Burial)



 



                ที่ทิเบตและเนปาลมีอาชีพหนึ่งคือ
ด็อมเอ็มส์



                ด็อมเอ็มส์ ก็คล้ายๆ กับ
สัปเหร่อบ้านเราแหละ แต่การกระทำต่อศพของเขามันไม่เหมือนบ้านเราเท่านั้นเอง
บ้านเราตกแต่งศพ แต่ทิเบตเขานั้นต้องกระหน่ำศพ
 ใช้ฆ้อนที่ใหญ่และหนากระหน่ำศพใส่ร่างศพจนกระดูกแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
และเมื่อทุบจนถึงเวลาอันควร
ร่างศพที่เพิ่งตายหรือตายมานานแล้วจะกลายเป็นเศษเนื้อที่สัตว์ปีกขนาดใหญ่นั้นคืออีแร้งที่พวกด็อมเอ็มส์เลี้ยงไว้เป็นฝูง
เพื่อให้แร้งพวกนั้นกินศพให้หายไปอย่างรวดเร็ว



               
พวกด็อมเอ็มส์นี้เชี่ยวชาญเรื่องจัดการศพมากๆ
พวกเขามีเครื่องมือหลายชนิดในการหั่นเชือดเฉือนศพคนให้เป็นเศษเล็กเศษน้อยอย่างรวดเร็วอย่างน่าอัศจรรย์



                ภาพที่ท่านได้เห็นต่อไปนี้ความจริงทางการทิเบตและเนปาลเขาไม่อยากให้ถ่ายนะครับ
ออกจะห้ามด้วยซ้ำ เพราะทางการทิเบตค่อนข้างห่างภาพลักษณ์ประเทศพอสมควร
เพราะรายได้หลักของเขามาจากการท่องเที่ยวนี้



                ถ้าเป็นไทยมาเห็นละก็คงด่ายาวเลย
แต่เราคงด่ามั่วแหละ ลืมไปแล้วเหรอว่าสมัยก่อนเรากำจัดศพอย่างไร
ก็เอาแร้งไปให้กินศพที่วัดนะสิ
ที่บ้านผมสมัยก่อนก็เอาศพไปทิ้งลงในหนองน้ำให้แร้งกินก็มี  
อีกทั้งทิเบตจำเป็นต้องจัดงานศพแบบนี้ครับ เพราะ
ทิเบตเป็นเขาหัวโล้นไม่มีไม้มาให้เผา และที่ฝังไม่ได้
เพราะพื้นดินทิเบตเป็นภูเขาเนื้อแข็งการขุดหลุมให้ลึกพอนั้นยาก
อาจทำให้สัตว์ต่างๆมาคุ้ยเขี่ยได้ และเหตุทีเขาใช้อีแร้ง เพราะ ส่งไปสู่สวรรค์
โดยมีอีแร้งเป็นพาหะนำไป



                



               การทำศพแบบทิเบตที่เห็นนี้เขาเรียกว่า Sky Burial หรือการฝังแบบห่มด้วยท้องฟ้าและมีอีกแบบ แบบฝังในเจดีย์ และการเผา
ซึ่งสงวนไว้สำหรับเพื่อการให้เกียรติพระลามะตำแหน่งสูง ๆ เท่านั้น



                อันที่จริงแล้ว
พิธีกรรมการจัดการศพของชาวทิเบต มีอยู่ 3 วิธีหลัก ๆ ด้วยกัน คือ
  1. พิธีศพทางฟากฟ้า  ปัจจุบันกลาย
เป็นพิธีกรรมเฉพาะของทิเบตเท่านั้น โดยมีสถานที่จัดทั่วประเทศราว
1076 แห่ง ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูง
บุคคลที่มีความสำคัญต่อพิธีกรรมนี้ เรียกว่า
ด็อมเอ็มส์หรือ
สัปเหร่อนั่นเอง นอกจากดอมแด จะทำหน้าที่จัดการศพ และประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ แล้ว
เขายังมีหน้าที่ในการฝึกนกแร้งที่จะมา กินศพอีกด้วย จนอาจกล่าวว่า
การฝึกนกแร้งเลยกลายเป็นวัฒนธรรมเฉพาะของทิเบตเหมือนกัน



                2. พิธีเผาศพ  ไม่นิยมมากนักเพราะ ไม้เป็นของหายาก
และมีค่ามากสำหรับประเทศทิเบตที่มีภูมิประเทศ เป็นภูเขาสูง และอากาศหนาวเย็น
ดังนั้นการเผาจึงค่อนข้างเกินเอื้อมสำหรับประชาชนธรรมดา คนมีเงิน บุคคลสำคัญของ
ประเทศ หรือพระรูปสำคัญ ๆ เท่านั้นที่จะใช้วิธีนี้



                3.
พิธีศพทางน้ำ
เป็นพิธีของชาวบ้านที่ค่อนข้างยากจน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
หรือเคลื่อนย้ายศพไปทำพิธี ที่วัดบนยอดเขา
โดยชาวบ้านจะนำศพผู้ตายมาหั่นกันเองให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ
เพื่อโยนลงแม่น้ำอุทิศให้เป็นอาหาร ของปลา



                อย่างไรก็ตามราว 80% ของชาวทิเบตนิยมพิธีศพทางฟากฟ้า
ทั้งนี้เพราะนอกจากจะเป็นประเพณีที่ทำติดต่อกันมา นานนับ
1000 ปีแล้ว และยังมีความเชื่อกันว่า
ด้วยวิธีการนี้เท่านั้นที่จะสามารถส่งให้วิญญาณของผู้ตายให้ เกี่ยวพันใกล้ชิด
กับการบูชาพระพุทธเจ้าในพื้นที่เทือกเขาหิมาลัยได้
รวมทั้งเป็นการทำกุศลครั้งสุดท้ายของผู้ตาย อีกด้วย



                นอกจากสาเหตุดังกล่าวแล้ว
เหตุผลที่พิธีศพแบบนี้ยังคงมีการทำกันอยู่ แม้ทางรัฐบาลจีนจะพยายาม ห้ามปราม
รวมทั้งให้งบประมาณในการจัดสร้างเตาเผาศพแล้วก็ตาม เนื่องมาจาก
ข้อจำกัดในด้านภูมิประเทศและอากาศ ภูมิประเทศของทิเบตเกือบทั้งหมดเป็นเทือกเขาสูง
อากาศหนาวเย็น มีพื้นที่ราบน้อย เนื้อดินแข็ง การฝังศพ
จึงแทบเป็นไปไม่ได้เพราะไม่สามารถขุดดินให้ลึกพอ ในขณะที่ไม้ฟืน เป็นของหายาก
และมีค่ามาก ปัจจุบันการเผา จึงเป็นพิธีกรรมที่สงวนไว้สำหรับพระ คนสำคัญ
และคนรวยเท่านั้นแต่มีข้อยกเว้นไม่ใช้กับเด็กที่อายุต่ำกว่า
18 ปี หรือ สตรีตั้งกำลังตั้งครรภ์ หรือ คนที่ตายจากโรคติดต่อ
หรือ อุบัติเหตุ



                



ส่วนการกำเนิดของพิธีนี้ยังเป็นเรื่องลึกลับไม่มีใครรู้ประวัติว่าเริ่มเมื่อไร
แต่เป็นพิธีกรรมทางศาสนาพุทธทิเบตที่สำคัญมากชาวทิเบต
ทุกคนจะได้รับเชิญให้ไปเป็นพยานในการทำพิธีนี้โดยทั่วกันชาวทิเบตเชื่อว่าเมื่อคนตายแล้ว
ศพก็คือเปลือกที่ว่างเปล่าส่วนวิญญาณนั้นได้ออกจากร่างไปเกิดใหม่แล้ว
ส่วนศพก็จะให้เป็นอาหารแก่นกแร้งนั้นเชื่อกันว่า
นกแร้งนั้นมีฐานะเทียบเท่าเทพบุตรและเทพธิดาซึ่งเทพทั้งหลายเหล่านี้
จะนำเอาวิญญาณผู้ตายไปสู่สวรรค์ นอกจากนี้การให้แร้งกินยังถือว่าเป็นการให้ทาน
เพราะการให้อาหารด้วยศพนี้
  จะทำให้นกแร้งไม่ต้องไปจับสัตว์เล็ก ๆ เป็นอาหารไปได้หลายมื้อ
ทำให้ช่วยสัตว์เล็ก ๆ ไว้ได้หลายชีวิต โดยพิธีนี้เขาจะทิ้งศพไว้กลางแจ้ง
3 วัน พระลามะ จะอยู่ดูแลศพตลอด  พิธีนี้จะเริ่มต้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้น



               
คราวนี้เรามาดูขั้นตอนของงานศพแบบทิเบตกัน



                ชาวทิเบตถือว่า
การเกิดเป็นเรื่องธรรมดา การตายยิ่งเป็นเรื่องธรรมดา การตายหมายถึง
การเกิดใหม่ของวิญญาณของคนๆนั้น เพราะเขาเชื่อว่าวิญญาณจะไม่มีวันตาย
ซึ่งก็จะขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวด้วย แต่ต้องไม่น้อยกว่า
2 วัน อนุญาตให้มีแขกมาในงานได้กี่คน
การเคลื่อนศพจะต้องออกทางทิศไหน ทางประตู หรือ หน้าต่าง
วิธีการทำศพนั้นไม่มีพิธีอาบนำศพ หรือแต่งตัวใหม่คือตอนเสียชีวิตใส่เสื้อผ้าชุดใด
ก็ใส่ชุดนั้น แล้วนำผู้ตายขึ้นไปนอนบนเตียงขนาดพอตัว และมีขาเตี้ยๆ ครอบครัวผู้ตาย
ก็จะเอา"ข่าต๋า" คือผ้าพันคอผืนยาว
2 ถึง 3 เมตรเศษสีขาวห่มร่างผู้ตาย แล้วขึงเชือก
เหนือร่างผู้ตายจากหัวไปเท้าเพื่อแขกที่มาในงาน
จะได้เอาข่าต๋าไปพาดบนเชือกที่ขึงนี้
ใครที่จะบริจาคช่วยงานศพก็ทำได้ตอนนี้ถ้าคนใดคนหนึ่งในครอบครัวตาย
เขาจะต้องรีบไปติดต่อโรงพยาบาลทิเบตพร้อมกับวันเดือนปีเกิด และวันเวลาที่
เสียชีวิตของผู้ตาย เพื่อให้หมอเอาข้อมูลไปคำนวณว่าจะเก็บศพเอาไว้กี่วัน
จากนั้นญาติก็นิมนต์พระซึ่งชาวทิเบตเรียกว่า " ลามะ" มาสวดที่บ้าน
ซึ่งจะเชิญมากี่องค์ก็ได้ แต่ต้องสวดตลอดระยะเวลาที่ไว้ศพ เช่นถ้าไว้ศพ
5 วัน ก็ต้องสวดตลอด 5 วัน จะหยุดพักบ้างก็ได้เพียงประมาณ 15 นาทีต่อช่วงเท่านั้นถ้าลามะมาองค์เดียว
ฆราวาสที่อ่านภาษาทิเบตได้จะช่วยสลับเวลาสวดแทน เมื่อสวดจบหนึ่งรอบ
ญาติจะนำน้ำชาผสมเนยจามรีไปวางใกล้ศพ เพื่อเสริฟให้แก่ผู้ตาย
และลามะเองก็พักซดน้ำชาไปในช่วงเวลานี้เหมือนกัน
เพราะชาวทิเบตคลั่งไคล้การดื่มน้ำชาเป็นชีวิตจิตใจ
การสวดจะเป็นไปอย่างนี้จนครบระยะเวลาการไว้ศพ
จากนั้นก็เคลื่อนศพไปทำพิธีฝังจะทำกันตอนเช้าตรู่ ตี
4 หรือตี 5 แต่ก่อนหน้าวันเคลื่อนศพ ผู้ทำหน้าที่ฝังศพ ซึ่งชาวทิเบต เรียกว่า
"อาจารย์"
จะมาบ้านผู้ตายครอบครัวผู้ตายต้องเตรียมเสื้อผ้าที่ดีที่สุดของผู้ตายมามอบให้อาจารย์พร้อมทั้งเงินค่าทำศพ
ส่วนใหญ่ประมาณร้อยถึงสองร้อยหยวน ส่วนเสื้อผ้าอาจารย์ก็จะให้ภรรยาของตนนำไปขาย



                



               ก่อนทำพิธีเคลื่อนศพ
อาจารย์ต้องทำเครื่องหมาย" สวัสดิกะ" ไว้บนพื้นตรงทางที่ศพ จะถูกขนออกจากบ้านไป
จากนั้นอาจารย์จะเอาเชือกผูกหัวเตียง จุดธูปบอกกล่าวผู้ตาย
จากนั้นก็ถือเชือกนำหน้าศพ บรรดาญาติจะช่วยกันแบกทั้งเตียงและศพ เดินตามเป็นขบวน
แล้ววนรอบเครื่องหมายสวัสดิกะ
3 รอบ
แล้วมุ่งหน้าไป " วัดต้าเจ้า" ซึ่งเป็นวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่สุดของทิเบต
เมื่อขบวนแห่มาถึงวัด ก็เดินวนรอบวัด
3 รอบเป็นการให้ผูตายได้เคารพ สักการะองค์พระพุทธรูปเป็นครั้งสุดท้าย
จากนั้นก็เอาศพใส่ รถยนต์กระบะ เพื่อนำไป



                สถานที่สำหรับพิธีฝังศพ
ในสมัยก่อนไม่มีรถยนต์ อาจารย์ต้องเป็นคนแบกศพรวดเดียว ไปยังสถานที่ ฝังศพ
ซึ่งเป็นระยะทางที่ต้องขึ้นเขาไปกว่า
2 กิโลเมตร



                ดังนั้นอาจารย์
ส่วนใหญ่ต้องมีร่างกายแข็งแรง เมื่อขบวนแห่ และอาจารย์มาถึงสถานที่ฝังศพ
ซึ่งเป็นลานกว้างมีแผ่นหินปูลาดขนาด
2 X 2 เมตร



                แล้วอาจารย์
และญาติจะช่วยกันเปลื้องเสื้อผ้าของศพออก แล้วอาจารย์
ก็จะเอาเครื่องมือของตนออกมาวาง ประกอบด้วยมีดขนาดต่างๆ มีตั้งแต่อีโต้
จนถึงขนาดเล็กๆที่ใช้ในการแล่เนื้อประมาณ
15-16 เล่ม
อาจารย์เริ่มลงมือด้วยการเอามีดเล็กกรีดหน้าผากศพเป็นแนวยาวเหนือคิ้ว
แล้วถลกหนังศีรษะออกมากองไว้
จากนั้นผ่าท้องเอาเครื่องในออกมาแล้วแล่เนื้อออกจากกระดูก ใช้มีดอันใหญ่ทุบกระดูก
และสับเนื้อเป็นชิ้นๆและทุบกระโหลกศีรษะเอามันสมองออกมาผสมกับกระดูกใส่ในหลุมที่มีเลือดไหลไปรวมอยู่
จากนั้นเอา
"จามปา"
แป้งชนิดหนึ่งที่คนทิเบตนำมาทำอาหาร มาผสมคลุกเคล้าให้ดีกับเลือดกระดูกและสมอง
เพราะจะช่วยดูดซับเลือดให้เข้ากับกระดูก
ทำให้บริเวณนั้นแห้งสนิทไม่เหลือเศษเลือดทิ้งเอาไว้ ที่ต้องทำอย่างนี้เพราะ
อีแร้งชอบกินมันสมอง ไม่ชอบกินกระดูกจึงต้องเอามันสมอง
มาคลุกกับกระดูกให้อีแร้งกินกระดูกเข้าไปด้วย



                



                เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว
อาจารย์ก็เรียกบรรดาอีแร้งที่อยู่เหนือบริเวณฝังศพขึ้นไปบนยอดเขา ให้ลงมากิน
เริ่มด้วยอาจารย์เอามันสมอง และเลือดให้อีแร้งกินก่อนแล้วค่อยตามด้วย
เนื้อที่สับไว้ เมื่ออีแร้งกินทุกอย่างหมด
แล้วญาติพี่น้องก็จะช่วยเผาสิ่งสุดท้ายที่เหลือคือเสื่อผ้าชุดที่ผู้ตายใส่
กับหนังศีรษะติดผม
แล้วทุกอย่างก็เป็นอันเสร็จสิ้นไม่ต้องมีการเก็บร่างกายของผู้ตายไว้เป็นที่ระลึกให้ต้องทำพิธีระลึกถึงกันทุกปีเพราะเขาเชื่อว่าในขณะที่เรากำลังร้องไห้เศร้าโศก
อยู่หน้าหลุมฝังศพผู้ตายนั้น เขาได้ไปจุติในร่างใหม่เรียบร้อยแล้ว



               
นกแร้งที่เป็นจ่าฝูงจะเป็นตัวที่มีประสบการณ์ และได้รับการฝึก มีลูกน้อง คือ
นกแร้งรุ่นใหม่ที่ยังไม่ได้อยู่ใน ระเบียบวินัย และมักแตกแถวยื้อแย่งกินศพ
ซึ่งจ่าฝูงต้องคอยจัดการให้อยู่ในวินัย ตามที่ตนได้เคยฝึกมากับดอมเด
ความสัมพันธ์ระหว่างดอมเดกับนกแร้งที่เป็นจ่าฝูง จึงเป็นความสัมพันธ์ที่สำคัญยิ่ง



                ด็อมเอ็มส์จะมีภาษาที่ใช้กับ
นกแร้งโดยเฉพาะ ทั้งภาษาพูด และภาษากาย
ที่จะคุ้นและสื่อกันได้ด้วยอาศัยความสัมพันธ์ที่ยาวนาน ดอมเด
มีความสามารถในการฝึกนกแร้งมากเท่าใด นกแร้งก็จะมีระเบียบวินัยมากเท่านั้น



               



สำหรับนกแร้งจ่าฝูงที่มีประสบการณ์
เมื่อด็อมเอ็มส์ให้ชิมเนื้อศพ หากศพใดใช้ยา หรือถูกยาพิษมา จะเป็นอันตราย
จ่าฝูงจะไม่กิน นกแร้งทั้งฝูงก็จะไม่กินศพนั้น ดอมแด
ก็จะกลับไปหาวิธีกำจัดศพวิธีอื่นแทนเช่น เผา กรณีหาก นกแร้งจ่าฝูงไม่มีประสบการณ์พอ
ก็อาจทำให้นกแร้งทั้งฝูงตายได้เหมือนกัน



                จากนั้น
จึงส่งเนื้อชิ้นแรกให้นกแร้งจ่าฝูงกิน
เมื่อจ่าฝูงอนุญาตนกแร้งทั้งฝูงก็จะรุมกันกินศพทั้งหมดโดยไม่เหลือชิ้นส่วนใด ๆ
ไว้เลย เสื้อผ้าของผู้ตายจะถูกนำไปเผา
ทั้งนี้เพื่อญาติพี่น้องจะไม่ต้องเก็บชิ้นส่วนใดของผู้ตายไว้ให้เกิด ความอาลัยอีก
ด้วยชาวทิเบตเชื่อว่า ในขณะที่พวกเขายังมัวเศร้าโศกเสียใจอยู่นั้น
ผู้ตายก็ไม่ได้รับรู้ใด ๆ แล้ว หรืออาจไปเกิดใหม่แล้วก็เป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น